เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ในอนาคตและการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม


1. องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ 
องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์ มี 4 ส่วน คือ ฮาร์ดแวร์, ซอฟต์แวร์, บุคลากร, ข้อมูลและสารสนเทศ


     คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูลที่อาจเป็นได้ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์อื่นที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Hardware1. Hardware (ฮาร์ดแวร์) คือ ลักษณะทางกายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งหมายถึงตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง peripheral ที่เกี่ยวข้อง เช่น แรม, เคส, จอภาพ, คีบอร์ด, เมาส์  เป็นต้น
ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วย 
     - หน่วยรับข้อมูล จะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับข้อมูลต่าง ๆ เข้าสู่คอมพิวเตอร์ 
     - หน่วยความจำหลัก จะทำหน้าที่เสมือนเก็บข้อมูลชั่วคราว  หากปิดเครื่องหน่วยความจำจะหายไป 
     - หน่วยเก็บข้อมูลสำรอง จะไม่สูญหายตราบเท่าที่ผู้ใช้ไม่ทำการลบข้อมูลนั้น รวมทั้งหน่วยเก็บข้อมูลสำรองยังมีความจุที่สูงมาก เรียกใช้ข้อมูลจะช้ากว่าหน่วยความจำหลักมาก



ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ software gif2. Software (ซอฟต์แวร์) คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ที่ประกอบออกมาจากโรงงานจะยังไม่สามารถทำงานใด ๆ เนื่องจากต้องมี Software ซึ่งเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงานต่าง ๆ ตามต้องการ โดยชุดคำสั่งหรือโปรแกรมนั้นจะเขียนขึ้นมาจาก ภาษาคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ สามารถแบ่งออกเป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ 
     - ซอฟต์แวร์ระบบ System Software  โดยส่วนมากแล้วจะติดตั้งมากับเครื่องคอมพิวเตอร์เนื่องจากซอฟต์แวร์ระบบเป็นส่วนควบคุมทำงานต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้สามารถเริ่มต้นการทำงาน
     - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ Application Software  จะเป็นซอฟต์แวร์ที่เน้นในการช่วยการทำงานต่าง ๆ ให้กับผู้ใช้ ซึ่งแตกต่างกันไปตามความต้องการของผู้ใช้แต่ละคน


3. บุคลากร Peopleware (พิเพิลแวร์) เครื่องคอมพิวเตอร์โดยมากต้องใช้บุคลากรสั่งให้เครื่องทำงาน เรียกบุคลากรเหล่านี้ว่า ผู้ใช้ หรือ user (ยูเชอร์)
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง



4. ข้อมูลและสารสนเทศ Data Information (ดาต้า อิมฟอเมชัน) ในการทำงานต่าง ๆ จะต้องมีข้อมูลเกิดขึ้นตลอดเวลา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ ซึ่งในปัจจุบันมีการนำเอาระบบคอมพิวเตอร์มาเป็นข้อมูลในการดัดแปลงข้อมูลให้ได้ประสิทธิภาพ โดยความแตกต่างระหว่าง ข้อมูล และ สารสนเทศ
     สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนการเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้สารสนเทศที่ดี จะช่วยให้ ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Data information
  2. หลักการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ 
   แบ่งระดับการใช้งาน คอมพิวเตอร์นั้น อาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภท แต่โดยส่วนใหญ่แล้วมักแบ่งตามประเภทของผู้ใช้ ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
1. ระดับผู้ใช้ทั่วไปและผู้ใช้มือใหม่ ผู้ใช้ทั่วไปเป็นผู้ที่ใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับงานด้านเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ และเล่นอินเตอร์เน็ตผ่านโปรแกรมสำเร็จรูป เช่น Microsoft Office เพื่อจัดทำเอกสารรายงานเพื่อนำเสนอ หรืออาจจะใช้โปรแกรม Photoshop แต่งภาพเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น
gaf
2. ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟฟิก (Graphic User) งานด้านกราฟฟิก ตัวอย่างเช่น งานด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อ โฆษณาจะต้องใช้ฮาร์ดแวร์และโปรแกรมต่างๆ ที่มีคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์สูงพอสมควร บางครั้งอาจะต้องใช้โปรแกรมพร้อมกันหลายๆ ตัว เช่น โปรแกรม Photoshop , IIIustrator , CorelDraw , InDesign เป็นต้น ซึ่งราคาเครื่องคอมพิวเตอร์จัดอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง ผู้ใช้ระดับนี้จึงควรจะประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เอง เพราะจะทำให้ได้รับความรู้มากขึ้น สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องได้ตามลักษณะเฉพาะของงานด้านกราฟฟิก และทำให้ใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ระดับผู้ใช้งานด้านกราฟฟิกขั้นสูง (Advanced Graphic User)ซึ่งต้องแสดงผลในรูปแบบสามมิติ หรือ 3 DAnimationผู้ใช้ระดับนี้จำเป็นต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงมากในการคำนวณระดับสูง เช่น การสร้างภาพในรูปแบบสามมิติ โดยใช้โปรแกรม Auto CAD ,3D Studio Max และ Maya เป็นต้น จึงควรเลือกประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ใช้เองเช่นกัน ทั้งนี้เพื่อให้สามารถกำหนดคุณลักษณะเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

4. ระดับผู้เล่นเกม (Game User)ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์สำหรับเล่นเกมซึ่งดูเหมือนจะเป็น เรื่องฟุ่มเฟือย ที่จะต้องใช้เงินจำนวนมากซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงเพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถรองรับเกมที่มีกราฟฟิก ภาพเคลื่อนไหว และภาพสามมิติ แต่ในปัจจุบันราคาของอุปกรณ์ต่างๆไม่สูงมากเกินไป ดังนั้นการประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เองจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการเล่นเกมเป็นชีวิตจิตใจ แต่สำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งอยู่ ในวัยเรียนและยังไม่มีรายได้เป็นของตนเอง ไม่ควรเล่นเกมมากจนกลายเป็นคนติดเกมเพราะนอกจากจะทำให้เสียการเรียน แล้วยังสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองอีกด้วย
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


  3. วิธีการกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์


  เมื่อทราบระดับการใช้งานคอมพิวเตอร์แล้วว่าเป็นผู้ใช้งานในระดับใด ต่อไปเป็นการกำหนดคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รองรับการทำงานในแต่ละระดับนั้น ในที่นี้จะกล่าวถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC) ซึ่งแต่ละระดับจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะของคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมกับผู้ใช้งานแตกต่างกันไป โดยมีวิธีการกำหนดคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ดังต่อไปนี้
1) สำหรับการใช้งานที่เน้นการทำงานพื้นฐานทั่วไป ส่วนมากจะใช้งานเพื่อสร้างเอกสาร รายงาน งานในสำนักงานต่างๆ รวมถึงการเล่นอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่เน้นความเร็วและเทคโนโลยีที่สูงนัก สำหรับผู้ใช้ระดับนี้ควรเลือก ซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องเน้นคุณลักษณะของเครื่องสูง มีราคาย่อมเยา คุณคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม ดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คุณลักษณะที่เหมาะและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น Intel Cleron D , Pentium 4 , Pentium D หรือ AMD Sempron , AMD Athlon 64 x 2
แรมประเภท DDR2-SDRAM ขนาด 512 MB ขึ้นไป
เมนบอร์ดเลือกประเภทที่มีชิปแสดงผล ชิปเสียง และชิปเน็ตเวิร์กมาด้วย เพื่อไม่ต้องซื้อการ์ดมาติดตั้งเพิ่มขึ้นอีก เนื่องจากติดตั้งมาพร้อมกับเมนบอร์ดแล้ว และเป็นการลดราคาเครื่องโดยรวมลงมาด้วย
ฮารด์ดิสก์อินเทอร์เฟส Serial ATA ขนาดความจุ 160 GB เป็นต้นไป ซึ่งเพียงพอสำหรับการใช้งานในระดับพื้นฐาน
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผลใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเสียงใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลนใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storageไดรฟ์ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
เครื่องสำรองไฟฟ้าควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 500 โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป สำหรับตัวเครื่อง จอภาพและอุปกรณ์อื่นๆ ที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน 300 วัตต์
2. สำหรับการใช้งานด้านกราฟฟิก สำหรับผู้ใช้ที่ชอบเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการใช้งานหลากหลาย เช่น การออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพ งานกราฟฟิก งานเขียนโปรแกรม เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น โดยอาจมีการลงซอฟต์แวร์ใหม่ๆ เพื่อทดลองใช้งานอีกทั้งยังเหมาะกับ ผู้ใช้ที่ต้องการความคล่องตัวในการทำงาน จึงต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง และเป็นเครื่องที่สามารถตอบ สนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วทันใจ ไม่ช้าเกินไป และสามารถใช้งานโปรแกรมต่างๆ ได้หลากหลาย ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คุณลักษณะที่เหมาะและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น Intel Core 2 Duo หรือ AMD Athlon 64x2
แรมชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 1 GB ขึ้นไป
เมนบอร์ดมีสล็อต PCI Express x16 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ อาจเลือกแบบ On Board เช่น ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
ฮารด์ดิสก์อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 250 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผล- ควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCI Express x16 ที่มีคุณภาพแสดงผลค่อนข้างสูง และขนาดหน่วยความจำบนการ์ด 256 MB ขึ้นไป โดยเลือกชิปแสดงผลเป็น nVidia GeForce FX 6800 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon x1300 ขึ้นไป
การ์ดเสียงใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลนใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storageไดรฟ์ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผลขนาดจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 19 นิ้ว
เครื่องสำรองไฟฟ้าควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 500 โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป สำหรับตัวเครื่อง จอภาพและอุปกรณ์อื่นๆ ที่กินไฟ โดยรวมแล้วไม่เกิน 300 วัตต์
3. สำหรับการใช้งานกราฟฟิกขั้นสูง สำหรับผู้ใช้งานโปรแกรมต่างๆ โดยเฉพาะงานที่ต้องแสดงผลในรูปแบบสามมิติ รวมถึงการเล่นเกมสามมิติ ซึ่งต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง จึงจำเป็นต้องใช้เครื่องที่มีคุณลักษณะสูงเช่นเดียวกัน ซึ่งคุณลักษณะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คุณลักษณะที่เหมาะและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น Intel Core 2 Duo , Intel Core 2 Quad, i7 หรือ AMD Athlon 64x2
แรมชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 2 GB ขึ้นไป หรือใช้ขนาด 1 GB จำนวน 2 แถว
เสียบลงในสล็อตแบบ Dual-Channel
เมนบอร์ดรองรับเทคโนโลยี Dual-Channel ที่ช่วยเพิ่มแบนด์วิธของแรม และ
เทคโนโลยี RAID มีสล็อต PCI Express x16 ส่วนอุปกรณ์อื่นๆ อาจเลือกแบบ
On Board เช่น ชิปเสียง ชิปเน็ตเวิร์ก เป็นต้น
ฮารด์ดิสก์อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 320 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผลควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCI Express ที่มีขนาดหน่วยความจำ
บนการ์ด 512 MB ขึ้นไป ชิปแสดงผลที่ใช้ควรเลือก nVidia GeForce FX 8600หรือ 9600 ขึ้นไป หรือ ATi Radeon HD340 ขึ้นไป
การ์ดเสียงใช้เป็นแบบ On Board
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลนใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storageไดรฟ์ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผลขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 22 นิ้ว ขึ้นไป
เครื่องสำรองไฟฟ้าควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 500 โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป
4. สำหรับเล่นเกมคอมพิวเตอร์ ผู้ที่ต้องการเล่นเกมได้อย่างเต็มอรรถรสและไม่ติดขัด ต้องใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีคุณภาพ ทั้งความเร็ว ความจุ และมาตรฐานต่างๆ อย่างไรก็ตามการเล่นเกมมากเกินไปจะทำให้เสียเวลาและเสียโอกาสที่จะทำประโยชน์อย่างอื่นมากมาย ทั้งต่อตนเองและสังคม ดังนั้น จึงควรรู้จักบริหารเวลาให้เหมาะสม ไม่ควรเล่นเกมมากมายจนกลายเป็นคนติดเกม ซึ่งคุณลักษณะคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับใช้เล่นเกม มีดังนี้
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คุณลักษณะที่เหมาะและรายละเอียดที่แนะนำ
ซีพียูรุ่น Intel Core 2 Duo, Intel Core 2 Quad หรือ AMD Athlon 64 x 2
แรมชนิด DDR2-SDRAM ขนาด 4 GB ขึ้นไป หรือใช้ขนาด 2 GB จำนวน 2 แถว
เสียบลงในสล็อตแบบ Dual-Channel
เมนบอร์ดรองรับเทคโนโลยี Dual-Channel ที่ช่วยเพิ่มแบนด์วิธของแรม และเทคโนโลยี RAID มีสล็อต PCI Express x16 จำนวน 1-2 ช่อง เพื่อรองรับการทำ SLI หรือ CrossFire
ฮารด์ดิสก์อินเทอร์เฟส Serial ATA-II ขนาดความจุ 320 GB ขึ้นไป
การ์ดจอ/การ์ดแสดงผลควรเลือกการ์ดแสดงผลมาตรฐาน PCI Express ที่มีขนาดหน่วยความจำบนการ์ด
512 MB ขึ้นไป ชิปแสดงผลที่ใช้ควรเลือก nVidia GeForce FX 8800 ขึ้นไป
หรือ ATI Radeon HD 3800 ขึ้นไป อาจพิจารณาการทำ SLI หรือ CrossFire ด้วย
การ์ดเสียงใช้การ์ดเสียงคุณภาพดีแบบ Multi-Channel
การ์ดเครือข่าย/การ์ดแลนใช้เป็นแบบ On Board ที่สนับสนุนอัตราความเร็วคงที่ 10/100 Mbps หรืออาจสูงถึง 1 Gbps ก็ได้ถ้ามีเครือข่ายรองรับ
Optical Storageไดรฟ์ DVD-RW ซึ่งสามารถอ่านและเขียนแผ่นได้เกือบทุกประเภท
จอแสดงผลขนาดของจอภาพแสดงผลควรเลือกขนาด 22 นิ้ว ขึ้นไป
เครื่องสำรองไฟฟ้าควรสำรองไฟฟ้าได้ตั้งแต่ 600 โวลต์แอมป์ (VA) ขึ้นไป
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การเลือกซื้อคอมพิวเตอร์ 1. ลักษณะงานที่ใช้ ในการเลือกซื้อคอมพิวเตอร์มีลักษณะงานที่ควรพิจารณาประกอบในการเลือกซื้อ 



    2. ซีพียู (CPU) เป็นอุปกรณ์ชิ้นหลัก ความเร็วของซีพียูมีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ (Hz) ถ้าหากมีค่าสัญญาณนาฬิกามากเท่าไหร่ก็ทำงานได้รวดเร็วขึ้น เช่น AMD FX-6300 2.4GHz  
         
    3. เมนบอร์ด (Main Board) เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่มีความสำคัญ เพราะเป็นแผงวงจรที่เชื่อมต่ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ภายในเข้าด้วยกัน ต้องเลือกให้สามารถรองรับกับ CPU ที่ได้จัดเตรียมไว้   
                                                             
    4. แรม (RAM) สิ่งที่ควรพิจารณาคือชนิดของแรมและความเร็ว DDR3 ที่มีความเร็วสูงกว่า DDR2 เครื่องคอมพิวเตอร์ควรใช้แรมไม่ควรต่ำกว่า 2 GB 

    5. ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk) การเลือก Hard disk ให้พิจารณาความจุ ความเร็วรอบไม่น้อยกว่า 7,200 รอบต่อวินาที 

    6. การ์ดจอ (Display Adapter) หรือ กราฟิกการ์ด (Graphic Card) ให้พิจารณาการใช้งานถ้างานมีลักษณะกราฟิกสูง เช่น 3D งานกราฟิก เกม ตรวจสอบการเชื่อมต่อ (Slot) ที่รองรับการเชื่อมต่อกับ Main board 

    7. DVD Drive คุณสมบัติในปัจจุบันไม่แตกต่างกันมากนัก ควรเลือกที่มีความเร็วในการเขียนข้อมูลสูง เช่น 52X   

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ การรับประกัน    8. การเลือกซื้อจอคอมพิวเตอร์ ให้พิจารณาความละเอียด จอคอมพิวเตอร์จะมีขนาดเป็นนิ้วทำการวัดในแนวเส้นทแยงมุม ความละเอียด (Resolution)

    9. การรับประกันจากบริษัทผู้แทนจำหน่ายให้พิจารณาระยะเวลาและเงื่อนไขการรับประกันเป็นสำคัญ 



        





4. การดูแลและบำรุงรักษาคอมพิวเตอร์ 

2-1-1
2-1-2
2-1-3
2-1-4
2-1-5

2-1-6
2-1-7
  5. ไวรัสคอมพิวเตอร์ 

malwere

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer Virus) คือ โปรแกรมชนิดหนึ่งที่มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาแผ่นดิสก์หรือแฟลชไดร์ฟที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้กับอีกเครื่องหนึ่ง การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายความว่าไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเรียบร้อยแล้ว 
ไวรัส (Virus) เป็น มัลแวร์ (Malware) ชนิดแรกที่เกิดขึ้นบนโลกนี้และอยู่มานาน ดังนั้นโดยทั่วไปตามข่าวหรือบทความต่างๆที่ไม่เน้นไปทางวิชาการมากเกินไป หรือเพื่อความง่ายและคุ้นเคยที่จะพูด 
มัลแวร์ (Malware) ย่อมาจาก Malicious Software หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่าย หรือเป็นคำที่ใช้เรียกโปรแกรมที่มีจุดประสงค์ร้ายต่อระบบคอมพิวเตอร์ทุกชนิดแบบรวมๆ โปรแกรมพวกนี้ได้แก่ Virus, Worm, Trojan, Spyware, Keylogger, Downloader, Adware, Dialer, Hijacker, BHO, Toolbar บางอย่าง, Hack Tool, Phishing, รวมไปถึง Zombie network, Zero-day attack และอื่นๆ
ความแตกต่างของไวรัส เวิร์ม โทรจัน และสปายแวร์ ความแตกต่างระหว่างไวรัส (Virus), เวิร์ม (Worm), โทรจัน (Trojan), และสปายแวร์ (Spyware) สามารถแบ่งแยกได้ตามลักษณะการทำงาน และพฤติกรรมของการแพร่เชื้อเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์
ไวรัส (Virus) มีลักษณะการแพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆในคอมพิวเตอร์โดยการแนบตัวมันเองเข้าไป มันไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้คือต้องอาศัยไฟล์และ Removable Drive เป็นพาหะ สิ่งที่มันทำคือสร้างความเสียหายให้กับไฟล์งานและไฟล์โปรแกรมต่างๆ ลองมารู้จักกับประเภทของไวรัสกันดังนี้ ไวรัสบูตเซกเตอร์ Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสบูตเซกเตอร์ที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์
เวิร์ม (Worm) มีลักษณะและพฤติกรรมคัดลอกตัวเองและสามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้อย่างอิสระ โดยอาศัยอีเมล์หรือช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการ มักจะไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่น สิ่งที่มันทำคือมักจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเครือข่าย และเหมือนจะสร้างความเสียหายให้กับระบบเศรษฐกิจมากที่สุด เวิร์มยังแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆได้ดังต่อไปนี้ Email worm เป็นเวิร์มที่อาศัยอีเมล์เป็นพาหะเช่น Mass-mailing worm เป็นเวิร์มที่สามารถค้นหารายชื่ออีเมล์ในเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อแล้วก็ส่งตัวเองไปยังที่อยู่อีเมล์เหล่านั้น File-Sharing Networks Worm เป็นเวิร์มที่คัดลอกตัวเองไปไว้ในโฟลเดอร์ที่ขึ้นต้นหรือประกอบด้วยคำว่า sha และแชร์โฟลเดอร์ของโปรแกรมประเภท Peer to Peer (P2P) เช่นเวิร์มที่มีชื่อว่า KaZaa Worm เป็นต้น Internet Worm หรือ Network Worm เป็นเวิร์มที่โจมตีช่องโหว่ของโปรแกรมและระบบปฎิบัติการต่างๆเช่น Blaster worm และ Sasser worm ที่ได้เป็นที่รู้จักกันดี IRC Worm เป็นเวิร์มที่ส่งตัวเองจากเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อไปหาคนที่อยู่ในห้องสนทนา (Chat room) เดียวกัน Instant Messaging Worm เป็นเวิร์มที่ส่งตัวเองจากเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อไปหาคนที่อยู่ใน Contact list ผ่านทางโปรแกรม Instant Messaging หรือ IM เช่นโปรแกรม MSN และ ICQ เป็นต้น
โทรจัน (Trojan) เป็นมัลแวร์อีกชนิดที่พบเห็นการแพร่ระบาดได้ทั่วไป มีลักษณะและพฤติกรรมไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ ไม่สามารถส่งตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆได้ ต้องอาศัยการหลอกผู้ใช้ให้ดาวน์โหลดเอาไปไว้ในเครื่องหรือด้วยวิธีอื่นๆ สิ่งที่มันทำคือเปิดโอกาสให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเข้ามาควบคุมเครื่องที่ติดเชื้อจากระยะไกล ซึ่งจะทำอะไรก็ได้ หรือมีจุดประสงค์เพื่อล้วงเอาความลับต่างๆ โทรจันยังแบ่งออกได้เป็นหลายชนิดดังนี้ Remote Access Trojan (RAT) หรือ Backdoor เป็นโทรจันที่เปิดช่องทางให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถเข้ามาควบคุมเครื่องได้จากระยะไกล หรือทำอะไรก็ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเหยื่อ Data Sending and Password Sending Trojan เป็นโทรจันที่โขมยรหัสผ่านต่างๆ แล้วส่งไปให้ผู้ไม่ประสงค์ดี Keylogger Trojan เป็นโทรจันที่ดักจับทุกข้อความที่พิมพ์ผ่านแป้นพิมพ์ของคีย์บอร์ด Destructive Trojan เป็นโทรจันที่สามารถลบไฟล์บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเหยื่อได้ DoS (Denial of Service ) Attack Trojan เป็นโทรจันที่เข้าโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ที่เป็นเป้าหมายบนอินเทอร์เน็ตในรูปแบบ DoS หรือ DDoS (Distributed denial-of-service) เพื่อทำให้ระบบเป้าหมายปฏิเสธหรือหยุดการให้บริการ (Denial-of-Service) การโจมตีจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันและมีเป้าหมายเดียวกัน โดยเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อทั้งหมดจะสร้างข้อมูลขยะขึ้นมาแล้วส่งไปที่ระบบเป้าหมาย เพื่อสร้างกระแสข้อมูลให้ไหลเข้าไปในปริมาณมหาศาลทำให้ระบบเป้าหมายต้องทำงานหนักขึ้นและช้าลงเรื่อยๆ เมื่อเกินกว่าระดับที่จะรับได้ ก็จะหยุดการทำงานลงในที่สุด อันเป็นเหตุให้ผู้ใช้ไม่สามารถใช้บริการระบบเป้าหมายได้ตามปกติ2 ส่วนรูปแบบของการโจมตีที่นิยมใช้กันก็มีเช่น SYN flood, UDP flood, ICMP flood, surf, Fraggle เป็นต้น Proxy Trojan เป็นโทรจันที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเหยื่อกลายเป็นเครื่อง Proxy Server, Web Server หรือ Mail Server เพื่อสร้าง Zombie Network ซึ่งจะถูกใช้ให้เป็นฐานปฏิบัติการเพื่อจุดประสงค์อย่างอื่น FTP Trojan เป็นโทรจันที่ทำให้ครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตกเป็นเหยื่อกลายเป็นเครื่อง FTP Server Security software Killer Trojan เป็นโทรจันที่ Kill Process หรือลบโปรแกรมป้องกันไวรัสหรือลบไฟร์วอลบนเครื่องที่ตกเป็นเหยื่อ เพื่อง่ายต่อการปฏิบัติการอย่างอื่นต่อไป Trojan Downloader เป็นโทรจันที่ดาวน์โหลด Adware, Spyware และ Worm ให้มาติดตั้งบนเครื่องเหยื่อ
สปายแวร์ (Spyware) มีลักษณะและพฤติกรรมคล้ายโทรจันคือ ไม่แพร่เชื้อไปติดไฟล์อื่นๆ อาศัยการหลอกผู้ใช้ให้ติดตั้งโปรแกรมที่ไม่ประสงค์ดีลงบนเครื่องของตนเอง หรืออาศัยช่องโหว่ของ Web Browser ในการติดตั้งตัวเองลงบนเครื่องเหยื่อ สิ่งที่มันทำคือรบกวนและละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ สร้างความรำคาญให้กับผู้ใช้มากที่สุด บางตำราอาจใช้คำว่า Grayware ซึ่งแบ่งออกได้เป็นหลายชนิด เช่น Dialer เป็นสปายแวร์ที่เคยอยู่บนเว็บโป๊ต่างๆ และใช้โมเด็มเครื่องเหยื่อหมุนโทรศัพท์ทางไกลต่อไปยังต่างประเทศ Hijacker เป็นสปายแวร์ที่สามารถเปลี่ยนแปลง Start Page และ Bookmark บนเว็บบราวเซอร์ต่างๆ BHO (Browser Helper Objects) เป็นสปายแวร์ที่ยัดเยียดฟังก์ชั่นที่ไม่พึงประสงค์ให้บนเว็บบราวเซอร์ Toolbar บางอย่างก็จัดเป็นสปายแวร์ที่ยัดเยียดเครื่องมือที่ไม่พึงประสงค์ให้บนเว็บบราวเซอร์ด้วย


ที่มา :https://mindphp.com/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1/65-archive/4083-computer-composition.html


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น